วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ลักษณะงาน ที่นำ JAVA ไปใช้ได้

ลักษณะงาน ที่นำ JAVA ไปใช้ได้


(Java Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่มีหลักการเขียนแบบเชิงวัตถุ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมให้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆโดยผู้เขียน โปรแกรม โดยภาษาจาวาจะถูกนำไปสร้างโปรแกรมตามหลักการและไวยกรณ์ของการเขียน จะได้ไฟล์นามสกุล .java เช่น HelloWorld.java โดยใช้ tool อย่างง่ายๆ เช่น editplus,notepad จากนั้นจึงนำไปคอมไพล์โดยใช้ Java Compiler ให้เป็นไบต์โค้ด(ฺBytecodes) ซึ่งจะมีนามสกุลเป็น .class จะได้ HelloWorld.class แล้วนำโปรแกรมหรือไฟล์ .class นั้นมาทำงานด้วยเครื่องจักรเสมือน (Java Virtual Machine) เรียกสั้นๆว่า "JVM" ที่จำลองขึ้นโดย Java Interpreter หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะงง เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังต่อนะครับ
จาวาสคริปต์ (JavaScript) เป็นสคริปต์คำสั่งที่วางไว้ร่วมกับภาษา HTML โดยจาวาสคริปต์ทำงานผ่านบราวเซอร์ที่เข้าใจคำสั่งจาวาสริปต์ เหมาะสำหรับการสร้างส่วนใช้งาน เพื่อติดต่อกับผู้ใช้ในแบบอินเทอร์เร็คทีฟ คือตอบสนองตามพฤติกรรมการใช้งาน เช่น ใช้สร้างเมนูแบบ Popup เป็นต้น
ดัง นั้นภาษาจาวา กับจาวาสคริปต์จึงเป็นคนละรูปแบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน หากแต่การเขียนคล้ายกัน

Java Software Development Kit (J2SDK)
เป็นชุดพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวา ซึ่งมีเครื่องมือช่วยสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม เช่น คอมไพลเลอร์ ดีบักเกอร์ รันไทม์(JRE) ไลบรารี่ และโปรแกรมสนับสนุนอื่นๆอีกมากมาย Sun Microsystems ได้แบ่งรูปแบบการทำงานของโปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวาออกเป็น 3 ส่วน คือ

J2ME (Java 2 Micro Edition) หมายถึงรูปแบบสภาวะการทำงานของโปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวา แต่เหมาะสมสำหรับการใช้งานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไร้สาย เป็นต้น

J2SE (Java 2 Standard Edition) หมายถึงรูปแบบสภาวะการทำงานของโปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวา ที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในลักษณะสแตนอะโลน
- Java Application คือลักษณะการทำงานในแบบทั่วไป สามารถติดตั้งและทำงานในทุกเครื่องที่ถูกติดตั้ง JVM
- Java Applet คือลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่ต้องทำงานบนพื้นที่ใช้งานบราวเซอร์อีกที ดังนั้นบราวเซอร์จะต้องติดตั้ง JVM หรือ Java Plug-in ไว้รอบรับการทำงาน
- JavaBeanคือรูปแบบของชิ้นส่วนโปรแกรม ที่สร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้พัฒนาโปรแกรม หรือใช้เพื่อทำงานร่วมภายในโปรแกรมอื่นๆ อีกทีหนึ่ง

J2EE (Java 2 Enterprise Edition) หมายถึงรูปแบบสภาวะการทำงานของโปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวา ที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ระดับเซิร์ฟเวอร์ เพื่อรองรับการใช้งานจากผู้ใช้จำนวนมากๆ
- Java Servlet คือโปรแกรมสร้างจากภาษาจาวา ตามรูปแบบการสร้างเซิร์ฟเล็ต การใช้งานต้องติดตั้งบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนการทำงาน เมื่อเซิร์ฟเล็ตถูกเรียกใช้จากบราวเซอร์ เซิร์ฟเล็ตจะทำงานโดยอาศัย JVM บนเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร และประมวลผลการทำงานให้ได้ข้อมูลเพื่อจัดส่งไปให้ผู้เรียกใช้จากบราวเซอร์ ต่อ ไป เซิร์ฟเล็ตถูกเรียกใช้จากผู้ใช้ผ่านทางโพรโตคอล HTTP และส่งผลลัพธ์เป็นข้อมูลเว็บไปยัง บราวเซอร์ของผู้ใช้อีกท
- JSP (Java Server Page)คือการใช้ภาษาจาวา และลักษณะสคริปต์ เขียนไว้เป็นส่วนหนึ่งของภาษา HTML และจัดเก็บไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนการทำงาน JSP เมื่อผู้ใช้เรียกใช้งานเว็บเพจดังกล่าว ส่วนที่เป็น JSP ในเว็บเพจ จะถูกคอมไพล์และประมวลผลผ่าน JVM ขอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจะแทรกผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลลงในเว็บ ก่อนจัดส่งให้กับผู้เรียกดูต่อไป

JVM (Java Virtual Machine)
คือเอ็นจิ่นในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เข้าใจโปรแกรมของภาษาจาวา ทำหน้าที่จัดการ และตีความแต่ละคำสั่งในโปรแกรมจาวา ที่ถูกเรียกว่าไบต์โค้ด (Bytecodes) แปลงให้เป็นคำสั่ง เพื่อประมวลผลของแต่ละระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน
การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวา

การพัฒนา Java Application
ขั้นที่ 1 ติดตั้ง J2SE ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา
ขั้นที่ 2 สร้างซอร์สโค้ดด้วยไวยกรณ์ภาษาจาวา ตามรูปแบบการสร้าง Java Applet (การสร้างคลาสที่สืบทอดจากคลาส Applet หรือ JApplet) บันทึกไว้ในไฟล์นามสกุล .java
ขั้นที่ 3 คอมไพล์ซอร์สโค้ดจนได้ไฟล์นามสกุล .class javac Hello.java (ระมัด ระวังเรื่องตัวอักษรเล็กและใหญ่) หากพบข้อผิดพลาดให้แก้ไขไฟล์ซอร์สโค้ดจนคอมไพล์ผ่าน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ไฟล์นามสกุล .class
ขั้นที่ 4 ทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่ได้ (ไฟล์นามสกุล .class) ด้วยคำสั่ง java และตามด้วยชื่อไฟล์นามสกุล . class โดยไม่ต้องใส่นามสกุล

การพัฒนา Java Applet
ขั้นที่ 1 ติดตั้ง J2SE ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา
ขั้นที่ 2 สร้างซอร์สโค้ดด้วยไวยกรณ์ภาษาจาวา ตามรูปแบบการสร้าง Java Applet (การสร้างคลาสที่สืบทอดจากคลาส Applet หรือ JApplet) บันทึกไว้ในไฟล์นามสกุล .java
ขั้นที่ 3 คอมไพล์ซอร์สโค้ดจนได้ไฟล์นามสกุล .class
ขั้นที่ 4 สร้างเอกสารด้วยภาษา HTML โดยวางแท็กคำสั่ง "..." เพื่ออ้างถึงไฟล์ที่ได้ในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ทดสอบการทำงานของ Java Applet ด้วยโปรแกรมบราวเซอร์เช่น Netscape, AppletViewer, IE ด้วยการเปิดไฟล์เอกสารภาษา HTML ในขั้นที่ 4
ขั้นที่ 6 นำไฟล์นามสกุล .class และไฟล์เอกสาร HTML ที่ได้ไปเก็บไว้ในตำแหน่งการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์

การพัฒนา Java Servlet
ขั้นที่ 1 ติดตั้ง J2SE ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา
ขั้นที่ 2 ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนการทำงานของ Java Servlet เช่น Apache Tomcat กำหนดไดเร็กทรอรี่ในการคอมไพล์และทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้ถูกต้อง
ขั้นที่ 3 สร้างซอร์สโค้ดด้วยไวยกรณ์ภาษาจาวา ตามรูปแบบการสร้าง Java Servlet (การสร้างคลาสที่สืบทอดจากคลาส HttpServlet) บันทึกไว้ในไฟล์นามสกุล .java
ขั้นที่ 4 คอมไพล์ซอร์สโค้ดจนได้ไฟล์นามสกุล .class
ขั้นที่ 5 นำไฟล์ในขั้นที่ 4 ไปวางในเว็บเซิร์ฟเวอร์ตามไดเร็กทรอรี่ที่กำหนดไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ขั้น ที่ 6 ทดสอบการทำงานของ Java Servlet ด้วยโปรแกรมบราวเซอร์ใดๆ อ้างไปยังโปรแกรม Java Servlet ตามข้อกำหนด URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์
(หมาย เหตุ การสร้าง Java Servlet มีขั้นตอนเริ่มต้นเกี่ยวกับการติดตั้ง และการตั้งค่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ ที่ต้องศึกษารายละเอียดจากคู่มือของโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง)

การพัฒนา JSP (Java Server Page)
ขั้น ที่ 1 ติดตั้ง J2SE ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา
ขั้นที่ 2 ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนการทำงานของ Java Servlet เช่น Apache Tomcat กำหนดไดเร็กทรอรี่ในการคอมไพล์และทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้ถูกต้อง
ขั้นที่ 3 สร้างเอกสาร JSP ตามรูปแบบไวยกรณ์และคำสั่ง JSP บันทึกไว้เป็นไฟล์นามสกุล .jsp
ขั้นที่ 4 นำไฟล์ในขั้นที่ 3 ไปวางในเว็บเซิร์ฟเวอร์ตามไดเร็กทรอรี่ที่กำหนดไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ขั้น ที่ 5 ทดสอบการทำงานของเอกสาร JSP ด้วยโปรแกรมบราวเซอร์ใดๆ อ้างไปยังเอกสารดังกล่าวตามข้อกำหนด URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

clarkconnect 4.3+ MRTG

สวัสดีครับ พอดีผมมือใหม่ แต่อยากแชร์การติดตั้ง MRTG เผื่อเพื่อนๆจะได้ประโยชน์บ้าง
พอดี เข้าบอร์ดมาพักนึงแล้วล่ะครับ ยอมรับครับว่าบอร์ดนี้ แชร์กันดีมากเลยครับ
ถ้าสนใจเดี๋ยวจะมาแชร์ครับ

รู้จักกับ MRTG
MRTG ย่อมาจาก Multi Router Traffic Grapher เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการมอนิเตอร์ดู Traffic Load บน Nerwork Links ซึ่งการทำงานของ MRTG จะมีการสร้าง HTML Pages ที่ประกอบด้วยภาพ (กราฟ) ชนิด PNG โดยภาพดังกล่าวนี้จะแสดงถึงปริมาณของทราฟฟิกบนเครือข่าย ว่ามีทราฟฟิกหนาแน่น หรือไม่ คอยมอนิเตอร์ดู Traffic Load ที่จะมีปัญหาเรื่อง Traffic และสภาพของเครื่อง Server ของเพื่อนๆ โหลด เยอะแค่ไหน จะได้ปรับแต่งได้ตามสมควรครับ หวังว่ามีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ยิงฟันยิ้ม


เริ่มกันเลย

ผมทดสอบกับ CC 4.3 En เวอร์ชั่นอื่นๆ น่าจะเหมือนกัน

login เข้า server ด้วย putty

เช็คดูว่ามีการติดตั้ง snmp ไปแล้วหรือยัง

# rpm -qa | grep snmp
ถ้าเจอ package ประมาณนี้ แสดงว่าได้ติดตั้งแล้ว
net-snmp-libs-5.1.2-13.el4
net-snmp-5.1.2-13.el4
net-snmp-utils-5.1.2-13.el4

ถ้า ไม่เจอ package snmp ต้องทำการติดตั้งเข้าไปก่อน โดยใช้คำสั่ง apt-get
# apt-get install net-snmp

พอลงเสร็จแล้วให้แก้ไขค่า config ของ snmp

#vi /etc/snmp/snmpd.conf
หรือ download ไฟล์ snmpd.conf ตัวนี้ไปทับไฟล์ต้นฉบับเลย ยังไงอย่าลืม backup ไฟล์ต้นฉบับไว้ก่อนน่ะครับ ยิงฟันยิ้ม
http://www.uploadd.com/download.aspx?pku=4ECB5DBB0A9J34PVZLI[ROV3FZOOR

สั่ง ให้ snmp start เมื่อบู้ตเครื่องใหม่
#chkconfig snmpd on

สั่ง ให้ snmp start
#service snmpd start


ต่อไปมาดู mrtg กันว่าได้ติดตั้งไปหรือยัง (ส่วนใหญ่ cc จะติดตั้ง MRTG Package มาให้แล้วน่ะครับ)

#rpm -qa | grep mrtg
ถ้าเจอ MRTG Package แสดงว่าได้ติดตั้งลงไปแล้ว ก็ข้ามไปขั้นตอนต่อจากการติดตั้งเสร็จแล้วได้เลย
cc-mrtg-4.3-30
mrtg-2.10.15-2a

สั่ง ติดตั้ง MRTG Package ในกรณีที่ cc ไม่ได้ติดตั้งมาให้
#apt-get install mrtg

พอติดตั้งเสร็จ MRTG Packageให้สร้าง folder mrtg ตามคำสั่งด้านล่าง

# mkdir -p /var/www/html/mrtg/

สั่ง cfgmaker เพื่อสร้างไฟล์ config

#cfgmaker --global 'WorkDir: /var/www/html/mrtg' --output /etc/mrtg/mrtg.cfg public@localhost

สั่ง indexmaker เพื่อสร้าง index page
#indexmaker --column=1 --output=/var/www/html/mrtg/index.html /etc/mrtg/mrtg.cfg

ตั้ง Crontab

#crontab -e

ใส่ค่าเข้าไป
*/5 * * * * env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/mrtg.cfg --logging /var/log/mrtg.log

เซฟแล้วออกมา

# vi /etc/httpd/conf.d/mrtg.conf

แก้ไขตามนี้

Alias /mrtg /var/www/html/mrtg


Order deny,allow
#Deny from all
Deny from none
Allow from 127.0.0.1
Allow from all
# Allow from .example.com



เพิ่ม ค่าเหล่านี้เข้าไปในไฟล์ mrtg.cfg
#vi /etc/mrtg/mrtg.cfg

โค๊ด:

### Load Average ###
Target[cpu]: .1.3.6.1.4.1.2021.10.1.5.1&.1.3.6.1.4.1.2021.10.1.5.2:public@127.0.0.1
MaxBytes[cpu]: 100
Unscaled[cpu]: dwmy
Options[cpu]: gauge, absolute, growright, noinfo, nopercent
YLegend[cpu]: CPU Load(%)
ShortLegend[cpu]: (%)
LegendI[cpu]:   CPU System
LegendO[cpu]:   CPU User
Title[cpu]: CPU Analysis
PageTop[cpu]:

CPU Analysis


### Memory Free ###
Target[mem]: .1.3.6.1.4.1.2021.4.6.0&.1.3.6.1.4.1.2021.4.4.0:public@127.0.0.1
MaxBytes1[mem]: 1030288
MaxBytes2[mem]: 1052216
Unscaled[mem]: dwmy
Options[mem]: gauge, absolute, growright, noinfo
YLegend[mem]: Memory Free
ShortLegend[mem]: Bytes
kilo[mem]: 1024
kMG[mem]: k,M,G,T,P
LegendI[mem]: Real
LegendO[mem]: Swap
Legend1[mem]: (MBytes)
Legend2[mem]: (MBytes)
Title[mem]: Memory Analysis
PageTop[mem]:

Memory Analysis


### New TCP Connection Monitoring (per minute) ###
Target[server.newconns]: tcpPassiveOpens.0&tcpActiveOpens.0:public@127.0.0.1
Title[server.newconns]: Newly Created TCP Connections
PageTop[server.newconns]:

New TCP Connections


MaxBytes[server.newconns]: 10000000000
ShortLegend[server.newconns]: c/s
YLegend[server.newconns]: Conns / Min
LegendI[server.newconns]: In
LegendO[server.newconns]: Out
Legend1[server.newconns]: New inbound connections
Legend2[server.newconns]: New outbound connections
Options[server.newconns]: growright,nopercent,perminute
### Established TCP Connections ###
Target[server.estabcons]: tcpCurrEstab.0&tcpCurrEstab.0:public@127.0.0.1
Title[server.estabcons]: Currently Established TCP Connections
PageTop[server.estabcons]:

Established TCP Connections


MaxBytes[server.estabcons]: 10000000000
ShortLegend[server.estabcons]:
YLegend[server.estabcons]: Connections
LegendI[server.estabcons]: In
LegendO[server.estabcons]:
Legend1[server.estabcons]: Established connections
Legend2[server.estabcons]:
Options[server.estabcons]: growright,nopercent,gauge



สั่ง indexmaker เพื่อสร้าง index page ใหม่

#indexmaker --column=1 --output=/var/www/html/mrtg/index.html /etc/mrtg.cfg


#service httpd restart

เรียกดู mrtg

http://myip/mrtg


จบล่ะครับ ติดขัดตรงไหน ถ้ายังไม่ขึ้น กราฟ โพสในบอร์ดได้ครับ เดี๋ยวจะมาตอบ ยิงฟันยิ้ม

หน้าตา ของ MRTG

ปัญหา wordpad ใน windows 11 หาย แก้ไขแบบนี้

 https://win7games.com/#wordpad download มาติดตั้งซะ